เกลื้อนดอกหมาก ไม่อันตราย แต่น่ารำคาญ

4 ปีที่แล้ว
blog
เกลื้อนดอกหมาก ทำไมชื่อมันถึงดูช่างโบราณนัก คนสมัยนี้อาจไม่ค่อยรู้จักมากนัก ทั้งที่ความจริงแล้วปัจจุบันคนเป็นโรคเกลื้อนดอกหมากเยอะมาก วันนี้เราเรียนรู้ดีกว่าว่าเกลื้อนดอกหมากเป็นอย่างไร
โรคเกลื้อน หรือ เกลื้อนดอกหมาก (Tinea Versicolor) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจาก โดยเชื้อราชนิดนี้จะชอบอาศัยในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น หรือตามผิวหนังของคนที่เหงื่อออกมาก ทำให้เชื้อราก่อเจริญเติบโตได้ดี มีลักษณะเป็นดวงปื้นขยายใหญ่สีขาว หรือน้ำตาลเข้มกว่าบริเวณผิวหนังรอบ ๆ  ซึ่งสามารถลุกลามเป็นได้หลายดวง หรือตกสะเก็ดร่วมด้วย โดยเกลื้อนดอกหมากเกิดขึ้นได้ทั่วบริเวณร่างกาย แต่จริง ๆ แล้วเกลื้อนดอกหมากไม่มีอันตรายใด ๆ ไม่มีการระคายเคืองแสบร้อน มีเพียงแค่อาการคันที่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น เนื่องจากคนสมัยก่อนจะเห็นรอยโรคเป็นดวงขาว ๆ ด่าง ๆ ไม่สวยงาม ดูไม่สะอาดตามผิวหนัง จึงทำให้คนโบราณเรียกโรคนี้ว่า “โรคเกลื้อนดอกหมาก” 
เชื้อรา Malassezia Furfur ปกติแล้วเชื้อราชนิดนี้สามารถก่อให้เกิดโรคเกลื้อนได้ถึง 3 ประเภท ได้แก่ เกลื้อนสีแดง เกลื้อนสีดำ และเกลื้อนดอกหมาก ซึ่งเกลื้อนดอกหมากถือว่าเป็นรอยโรคที่มีอาการรุนแรงที่สุด แม้ว่าจะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ก็สามารถเป็นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ยิ่งคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ยิ่งเกิดเกลื้อนดอกหมากได้ง่ายขึ้น 
วิธีการที่สามารถดูแลตนเองจากเกลื้อนดอกหมาก และการรักษาทางการแพทย์นั้น ได้ดังนี้ต่อไปนี้เช่น 
1. เลือกสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายไม่รัดตัว ระบายอากาศได้ดี ป้องกันการอับชื้นของเหงื่อ
2. หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนชื้น ห้องทำงานควรสามารถระบายอากาศได้ดี
3. หลีกเลี่ยงการเหงื่ออออกมาก
4. อาบน้ำและสระผมชำระเหงื่ออย่างสม่ำเสมอทุกครั้ง
5. หากเป็นโรคเกลื้อนดอกหมากสามารถใช้ยาต้านเชื้อรา เช่น Fluconazole, Itraconazole, Clotimazole หรือ Ketoconazole รักษาบรรเทาอาการให้หายได้
6. ใช้สมุนไพรไทย เช่น ข่า, ใบชุมเทศ, ทองพันชั่ง หรือกระเทียม มาบดตำให้ละเอียด และทาลงบริเวณรอยโรคเกลื้อนดอกหมากก็สามารถบรรเทาอาการรักษาให้หายได้
แต่โรคนี้อาการมักเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง เพื่อขอรับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และต้องรักษาอย่างต่อเนื่องนะครับ

Relate Blog Contents